อ่านต่อ
blog, Dentbiz101, การจัดการคลินิก

เมื่อโดน ผู้ช่วยฟ้องร้อง!!!

ห่างหายไปนานไม่ได้มาเขียนเพจเลยค่ะมีเรื่องราวมากมายนะทยอยเล่าก็แล้วกัน เรื่องแรกที่จะเล่าหลังจากร้างราไปนานสำหรับเจ้าของคลินิกอย่างเราก็คงไม่พ้นเรื่องผู้ช่วย!!! มีพี่ที่คลินิกนึงเค้าโดนผู้ช่วยฟ้องค่ะ !!!ผู้ช่วยที่เรา รักเค้านักรักเค้าหนานี่ล่ะค่ะ อยู่กันมาเป็น 10 ปีแต่พอวันนึงกลายเป็นอื่นก็เหมือนกับคู่รักนั่นแหละค่ะ พอเป็นอื่นแล้วก็คุยกันไม่รู้เรื่องซะแล้ว วันที่มีปัญหากันถ้าเค้าลาออกเองก็จบไปแต่ถ้าเค้าไม่ลาออกอยู่ดึงเชงไปเรื่อยๆ ให้เราหงุดหงิดใจ จนเผลอไล่เค้าออกเองคราวนี้ละสิ่งที่ตามมาก็คือเงินชดเชยตามอายุงานสูงสุดคือ ลูกจ้างที่มีอายุงาน 20 ปีขึ้นไปจ่ายชดเชยไม่น้อยกว่า 400 วัน คือราวๆ 13 เดือน ถ้าเป็นค่าแรงคลินิกก็หลักแสนอยู่นะ

อ่านต่อ

อ่านต่อ
blog, Dentbiz101, การจัดการคลินิก

รับฟังคนไข้ ด้วยหัวใจ

รับฟังคนไข้ ด้วยหัวใจ หนึ่งในกระบวนการออกแบบการให้บริการที่เข้าถึงหัวใจคนไข้ ไม่ต้องพูดหวาน ไม่ต้องเสียงสอง ไม่ต้องเอาอกเอาใจให้มากความ   ...แค่รับฟังด้วยหัวใจ   กระบวนการรับฟังด้วยหัวใจนั้นแบ่งออกเป็น 3 สเตปคือ   >> สบตาคนไข้ ข้อแรกเลยนะคะเมื่อเริ่มต้นพูดคุยให้สบตาคนไข้ โดยให้สายตาอยู่ในระดับเดียวกันหรือเราอาจจะสูงกว่าคนไข้แค่เพียงเล็กน้อยนะคะ โดยธรรมชาติคือถ้าสายตาเรามองสูงกว่า มันจะแสดงถึงเรามีอำนาจเหนือคนไข้ ก็เลยระบุว่าแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นนะคะ แต่ที่ไม่ควรเลยนะคะ...คือคุยกันในท่าที่คนไข้นอนบนเก้าอี้แล้วเรานั่งค่ะ ลองนอนพูดดูนะคะ อึดอัดระดับนึงเลยค่ะ ควรให้เค้าอยู่ในท่านั่งที่ผ่อนคลายนะคะ ให้ดีคือคุยกันก่อนขึ้นเก้าอี้ทำฟันค่ะ แต่ถ้าต้องคุยบนเก้าอี้ทำฟันก็อาจจะให้คนไข้นั่งห้อยขาหันมาคุยกันก่อนแล้วก็นั่งคุยกัน หรือถ้าบ้วนน้ำแล้วขาขึ้นไปแล้วหมอก็ควรนั่งในตำแหน่ง 7 นาฬิกาคือสบตากันได้ง่ายกว่าค่ะ   >> ฟังเพื่อเข้าใจไม่ใช่โต้แย้ง รับฟังคนไข้ด้วยความเข้าใจ ข้อนี้ค่อนข้างกว้างมากนะคะ เพราะคนมีหลายแบบ เอาง่ายๆแค่คำถามว่า...ปวดแบบไหน กว่าจะได้คำตอบว่าปวดแบบไหน ปวดของเราตรงกันหรือไม่ก็ใช้เวลานานโข คนไข้บางท่านก็พูดวกไปวนมา พูดไม่หมด ร้ายหนักคือพูดโกหกเพื่อให้ตัวเองได้รับบริการตามที่ตัวเองต้องการ ดังนั้นก่อนจะเข้าใจเนื้อหาใจความเราต้องเข้าใจคนไข้ก่อนด้วยซ้ำว่าเค้าเป็นคนแบบไหนเค้าต้องการอะไร ซึ่งอันนี้อาจจะต้องอาศัยการสังเกตุและให้เวลากับคนไข้ ถึงจะได้รู้ว่าเนื้อหาที่เค้าต้องการสื่อสารคืออะไร ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่เค้าไม่ได้พูดออกมาก็เป็นได้   >> ได้ยินแล้วตอบรับ เอาสั้นๆ อย่างน้อยก็ “ค่ะ” ให้คนไข้ได้รับรู้ว่าเราได้ยินในสิ่งที่เค้าบอกแล้ว บ่อยครั้งที่คนไข้ไม่พูดกับเราแต่เอาออกมาพูดข้างนอกเพราะเค้ารู้สึกว่า “พูดไปหมอก็ไม่ฟัง” อันนี้จะว่าดีก็ดีนะ หมอไม่ต้องเสียเวลามานั่งฟัง แต่เอาจริงๆก็ไม่ดีนะคะ การรับฟังแล้วตอบรับคนไข้ ให้คนไข้ได้วางใจว่าเรารับฟังเค้าแล้วนะ เมื่อคนไข้วางใจก็จะเปิดรับเรามากขึ้นในทางกลับกันเค้าก็จะรับฟังในสิ่งที่เราแนะนำไปด้วยเช่นกันค่ะ

อ่านต่อ

อ่านต่อ
blog, Dentbiz101, การจัดการคลินิก

4 ขั้นตอน การรับเรื่องร้องเรียนคนไข้

4 ขั้นตอนรับมือคนไข้ร้องเรียน         เมื่อคนไข้แสดงอิทธิฤทธิ์หรือร้องเรียนคลินิกไม่ว่าในทางใด เมื่อเราเรารับทราบข้อกล่าวหาแล้วสิ่งแรกที่เราควรทำคือ 1. ยอมรับและแสดงความรับผิดชอบ <br ยังไม่ต้องคำนึงถึงความถูกผิดแต่ให้ยอมรับและแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นยกตัวอย่างเช่นคนไข้มาผิดเวลานัดแล้วไม่ได้ทำ="" สิ่งที่เราควรทำคือหาเวลาหรือหาทางให้คนไข้ได้รับบริการอย่างรวดเร็วที่สุด<="" br="" 2. รับฟังสิ่งที่คนไข้ร้องเรียน <br ให้คนไข้ได้พูดและได้ระบายในสิ่งที่คนไข้ไม่พอใจ="" บางเรื่องอาจเป็นเพียงความคับข้องใจเล็กน้อย="" ซึ่งถ้าเค้าได้ระบายออกมามันจะคลายและหายไปในที่สุด="" นอกจาเรื่องจะจบแล้ว="" เรายังได้ข้อมูล="" รู้จักคนไข้มากขึ้นอีกด้วย<="" br="" 3. ขอโทษในสิ่งที่ทำให้คนไข้ไม่ได้รับความสะดวก <br ขอโทษโดยไม่ได้สนใจว่าใครถูกผิด="" แต่ขอโทษที่ทำให้เกิดความไม่สะดวกแก่คนไข้="" <="" br="" 4. เสนอทางเลือกหรือแก้ปัญหาให้คนไข้ในทันที <br เมื่อคนไข้ไม่พอใจให้จับจุดของต้นตอของความไม่พอใจให้เร็วที่สุดแล้วแก้ในทันที="" เพื่อให้ทุกอย่างจะจบลงอย่างเรวดเร็ว=""...

อ่านต่อ